จากทริปเที่ยวเป็นเที่ยวทิพย์ บาคามอลขอพาดำน้ำแบบบลูทูธก่อนแล้วกัน!
ช่วงวันหยุดที่ผ่านมาแพลนไปดำน้ำที่ทะเลของหลายคนคงต้องยกเลิกกันไปเป็นแถว แต่ไม่เป็นไรนะวันนี้น้องเม็ดเหลืองเอา 5 ปะการังขึ้นชื่อของทะเลอันดามันมาฝากให้หายคิดถึงกันไปก่อน ไว้สถานการณ์ทุกอย่างดีขึ้นค่อยไปเที่ยวกันจริง ๆ ให้หายคิดถึงกันนะครับ
1. เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล ปะการังอ่อน 7 สี
ลำดับแรก ขึ้นชื่อเรื่องทะเลสวยน้ำใส ปะการังสีสดหลากหลายมาก ถ้าได้ไปสักครั้งในชีวิตก็ไม่เสียดายแล้วล่ะ ‘เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล ปะการังอ่อน 7 สี‘ เกาะกลางทะเลอยู่ในเขตจังหวัดสตูล อยู่ทางตอนใต้ของเกาะอาดังจากหัวเกาะไปถึงท้ายเกาะมีระยะแค่ประมาณ 3 กิโลเมตร จัดว่าเป็นเกาะขนาดเล็ก ถือเป็นเกาะที่อยู่สุดท้ายทางตอนใต้ของทะเลอันดามันของไทย
ปะการัง 7 สี (Stonehenge Pinnacle) ปะการังอ่อนที่มีความสมบูรณ์ที่สุดอีกแห่งในทะเลแถบนี้ เพราะตั้งอยู่ในบริเวณกระแสน้ำแรงทำให้มีการพัดพาอาหารของปะการังมาตามกระแสน้ำ
2. เกาะพีพี จ.กระบี่ ปะการังสมอง
ลำดับที่สองนี้โด่งดังไปทั่วโลกชาวต่างชาติติดใจกันเต็ม และถ้ามีโอกาสได้ไปทะเลอันดามันจะพลาดเกาะนี้ไปไม่ได้เด็ดขาด ‘เกาะพีพี จ.กระบี่ ปะการังสมอง’ มีที่ตั้งที่อำเภอเมืองของจังหวัดกระบี่ ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในทะเลอันดามันด้านทิศตะวันตกของภาคใต้ เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติเอกลักษณ์ทางธรรมชาติคือภูเขาหินปูนที่มีหน้าผาเป็นชั้น ๆ ถ้ำที่สวยงาม มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 389.96 ตารางกิโลเมตร หรือ 243,725 ไร่
ปะการังสมอง (Platygyra daedalea) ตัวปะการังจะเป็นก้อน ๆ คล้ายกับสมองคน ปะการังสมองนั้นมีหลายพันธุ์มีทั้งแบบร่องเล็ก และร่องใหญ่ตามขนาดของร่องรอยหยักของปะการัง มักพบเป็นก้อนขนาดใหญ่จะพบได้มากในแถบหมู่เกาะพีพี
3. เกาะกระดาน จ.ตรัง ปะการังอ่อนหนามแดง
ถ้าใครอยากเห็น ‘ดอกไม้บานใต้น้ำ’ และมีปลาว่ายเป็นองค์ประกอบที่แสนจะเพอร์เฟกต์ไม่ควรขาด ‘เกาะกระดาน จ.ตรัง ปะการังอ่อนหนามแดง’ เกาะที่มีชายหาดสวยที่สุดในทะเลตรัง ด้วยความที่อยู่ไกลจากชายฝั่งจึงทำให้เกาะกระดานมีน้ำทะเลเขียวใส มีแนวชายหาดเกือบรอบเกาะเหมาะกับการเล่นน้ำจึงเคยถูกเลือกให้เป็นสถานที่จัดงานวิวาห์ใต้สมุทร
ปะการังอ่อนหนาม ( Spinous Softcoral ) มีลักษณะคล้ายต้นไม้ที่ออกดอกบานสะพรั่งทั้งต้น ขนาดความสูงประมาณ 25 เซนติเมตร โดยมีส่วนของลำต้นเป็นแกนกลางให้แขนงที่แตกช่อออกทางด้านข้างได้ยึดเกาะ กิ่งที่แยกออกจากลำต้น จะแตกแขนงออกไปอีกจำนวนมากและมีโพลิปอยู่ตรงส่วนปลายของแขนง
4.เกาะราชา จ.ภูเก็ต ปะการังสีน้ำเงิน (Heliopora coerulea)
อยากเห็นความอลังการทั้งชื่อเกาะทั้งปะการัง ต้องนี้! ‘เกาะราชา จ.ภูเก็ต ปะการังสีน้ำเงิน (Heliopora coerulea)’ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดภูเก็ต โดยประกอบด้วยเกาะราชาใหญ่และเกาะราชาน้อย เกาะราชาใหญ่ มีทั้งหมด 5 อ่าว คือ อ่าวตะวันตก หรืออ่าวปะตก, อ่าวสยาม, อ่าวทือ, อ่าวหลา และอ่าวขอนแค เกาะราชาใหญ่เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาวสะอาด น้ำทะเลสวยใสคล้ายสิมิลัน บวกกับการเดินทางที่ใช้เวลาเพียงไม่นานเนื่องจากอยู่ห่างจากภูเก็ตเพียง 15 กม
ปะการังสีเงิน ( Blue Coral ) ปะการังสีน้ำเงินจัดอยู่ในพวกเดียวกับปะการังท่อ คอรอลลัมเป็นก้อนและอาจมีส่วนยื่น ในแนวตั้งฉากเป็นแผ่นหรือเป็นพูช่องรองรับโพลิปกระจัดกระจายกันและมี สันเทียม ( pseudosepta ) จัดเรียงตัวในแนวรัศมียื่นเข้าไปตรงกลางพบได้มากในฝั่งทะเลอันดามัน แถบเกาะราชา
5.หมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา ปะการังดอกกะหล่ำ
สายธรรมชาติต้องปลื้มใจแน่ เพราะเกาะนี้นอกจากบนบกจะมีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติแล้วในใต้น้ำก็ไม่แพ้กัน ‘หมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา ปะการังดอกกะหล่ำ’ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์นับว่ามีธรรมชาติที่สมบูรณ์ทั้งบนบกและในทะเล มีทั้งป่าดิบชื้น ป่าชายหาด ป่าชายเลนมาประจบกับแนวปะการัง แนวปะการังมีความสมบูรณ์ เหมาะสำหรับชมปะการังน้ำตื้น มีพื้นที่ประมาณ พื้นที่ประมาณ 84375 ไร่ ร้อยละ 76 ของพื้นที่เป็นทะเล ส่วนที่เหลือเป็นแผ่นดิน ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะไข่ (เกาะตอรินลา) เกาะกลาง (เกาะปาจุมบา) เกาะรี(เกาะสต๊อก)
ปะการังดอกกะหล่ำ ( Cauliflower Coral ) คอรอมลัมของปะการังชนิดนี้มีลักษณะเป็นช่อที่แตกกิ่งก้านออกมาจากศูนย์กลาง คล้ายดอกกะหล่ำตรงปลายของแต่ละกิ่งก้านแผ่แบบขยายออกผนังที่แบ่งกั้นคอรอลไลท์บางกว่าปะการังพุ่มไม้