หากกำลังรู้สึกปวดจี๊ดบริเวณฟันไม่ว่าจะเป็นฟันกราม ฟันหน้า ปวดแบบเป็นๆ หาย ปวดฟันตอนกลางคืนจนไม่สามารถนอนได้ คุณกำลังเจอกับอาการปวดฟันที่เป็นปัญหาสุขภาพภายในช่องปากที่ไม่ควรละเลย ซึ่งอาการปวดฟันที่เกิดขึ้นมาจากหลายหลายสาเหตุ แล้วยิ่งปล่อยให้ปวดฟันนานๆ นอกจากจะกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันเวลารับประทานอาหาร ยังอาจส่งผลกระทบกับสุขภาพร่างกายได้อีกด้วย
อาการปวดฟัน คือ
อาการปวดฟันคืออาการที่รู้สึกเจ็บ และปวดบริเวณรอบๆฟัน เช่น ปวดฟันกรามน้อย ฟันกรามใหญ่ ปวดฟันผุ ปวดฟันตอนกลางคืน ปวดฟันจนปวดหัว โดยอาการปวดฟันที่เกิดขึ้นนั้นสามารถรู้สึกได้ตั้งแต่อาการปวดฟันเพียงเล็กน้อยจนถึงรู้สึกปวดฟันมากจนไม่สามารถทนได้ ซึ่งอาการปวดฟันจำเป็นจะต้องตรวจหาต้นตอปัญหาที่แท้จริง และได้รับการรักษาที่เหมาะสมจากทันตแพทย์ เนื่องจากอาการปวดฟันหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เช่น เกิดการสูญเสียฟันจากสาเหตุอาการฟันผุที่ทิ้งไว้นาน หรือแม้กระทั่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อจนเข้าสู่กระแสเลือด เป็นต้น
สาเหตุของอาการปวดฟัน
สาเหตุของอาการปวดฟันเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งแต่ละสาเหตุก็จะมีความแตกต่างกันออกไป โดยสามารถแบ่งสาเหตุที่ทำให้ปวดฟันได้บ่อยๆ ดังต่อไปนี้
1. อาการปวดฟันที่เกิดจากฟันแตก ฟันร้าว
อาการปวดฟันที่เกิดจากฟันแตก ฟันร้าวเป็นอาการปวดฟันเมื่อเคี้ยวหรือรับประทานอาหารที่เย็นจัด และร้อนจัด โดยอาการปวดดังกล่าวจะมีลักษณะปวดๆ หายๆ แต่อาการปวดดังกล่าวจะปวดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นได้ด้วยการบ้วนน้ำเกลือ ใช้ยาแก้ปวด หลีกเลี่ยงน้ำเย็น กินอาหารอ่อนๆ แต่จะต้องรีบไปพบทันตแพทย์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เนื่องจากรอยแตกของฟันอาจลึกไปถึงโพรงประสาทฟันได้
2. อาการปวดฟันที่เกิดจากหนอง
อาการปวดฟันที่เกิดจากหนองเป็นอาการปวดฟันที่มีสาเหตุมาจากฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งเมื่อปล่อยให้ฟันผุเป็นระยะเวลานานทำให้บริเวณที่ผุมีการขยายพื้นที่ความเสียหายมากขึ้นจนเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในบริเวณรากฟัน จึงทำให้เกิดอาการปวดฟันในบริเวณรากฟัน โดยเฉพาะเมื่อเคี้ยวอาหารแล้วเกิดการกระทบฟันซี่ที่มีปัญหา
3. อาการปวดฟันที่เกิดจากโรคเหงือก
หากต้องการให้มีสุขภาพฟันที่ดี สุขภาพเหงือกก็สำคัญไม่แพ้กัน แล้วยิ่งหากเหงือกมีปัญหาก็จะยิ่งกระทบถึงฟันไปด้วย ซึ่งหากเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติของสภาพเหงือก เช่น เหงือกบวม รู้สึกเจ็บ หรือปวดเหงือก แปรงฟันแล้วเลือดออก สีของเหงือกมีความเข้มขึ้น จนลามไปสู่การเสียวฟัน และปวดฟันในที่สุดแบบนี้ ยิ่งปล่อยไว้นานๆ ในอนาคตก็จะยิ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพในช่องปากได้
4. อาการปวดฟันที่เกิดจากฟันคุด
ฟันคุดเป็นฟันแท้ที่ไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติ โดยฟันคุดนั้นจะอยู่ใต้เนื้อเยื่อเหงือก หรือบริเวณกระดูกขากรรไกร มีลักษณะล้มเอียง งอกขึ้นมาได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้รู้สึกปวดบริเวณด้านในสุดของฟันกราม เนื่องจากเหงือกรอบฟันคุดเกิดการอักเสบ โดยความเจ็บปวดของอาการปวดฟันคุดแต่ละคนก็จะมีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพของฟันคุดที่งอกออกมา
5. อาการปวดฟันที่เกิดจากเศษอาหารติดฟัน
สาเหตุสุดท้ายที่ทำให้เกิดอาการปวดฟันบ่อยครั้งหนีไม่พ้นในเรื่องของเศษอาหารติดฟัน เพราะด้วยการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเราจำเป็นต้องมีการรับประทานอาหาร ซึ่งการรับประทานอาหารในหลายต่อหลายครั้งก็มักจะมีเศษอาหารเข้าไปติดตามซอกฟัน เมื่อเข้าไปติดมากๆ จนเริ่มอัดกันแน่นบริเวณซอกฟัน ซอกเหงือกจึงทำให้เกิดอาการปวดฟันขึ้นนั่นเอง
วิธีแก้ปวดฟันกระทันหันด้วยตัวเอง
อาการปวดฟันเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่ใช่เรื่องที่จะปล่อยข้ามไปได้ เพราะในหลายครั้งที่ทำให้รู้สึกรำคาญใจจากอาการปวดที่เกิดขึ้นจนต้องการวิธีแก้ปวดฟันที่ช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นในระหว่างรอพบทันตแพทย์ โดยวันนี้จะขอพาไปดูกับวิธีแก้ปวดฟันกระทันหันด้วยตนเองที่สามารถลองนำไปปรับใช้ได้ ดังต่อไปนี้
- บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ หรืออมเกลือไว้บริเวณที่ปวดฟัน : ซึ่งเกลือมีประสิทธิภาพช่วยลดเชื้อโรคแล้วยังสามารถช่วยลดการอักเสบที่เกิดภายในช่องปากได้อีกด้วย
- ประคบเย็น : การประคบเย็นจะช่วยให้อาการปวดฟันเบาลง เพราะด้วยความเย็นจะช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย ลดอาการปวด จากการหดตัวของหลอดเลือด โดยแนะนำให้ประคบบริเวณแก้มข้างที่มีอาการปวดฟันประมาณ 20 นาที และทำซ้ำวันละหลายๆครั้ง
- รับประทานยาแก้ปวดฟัน : การรับประทานยาแก้ปวดฟัน เช่น ยาพารา ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ฯลฯ จะช่วยรรเทาอาการปวดฟันดีขึ้น โดยเฉพาะใครที่ต้องการแก้ปวดฟันกะทันหัน ต้องการยาแก้ปวดฟันที่หาซื้อง่าย สามารถเลือกรับประทานบาคามอล ยาพาราเซตามอล 500 มก. เม็ดสีเหลือง ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ลดไข้ หาซื้อได้ง่ายที่ร้านค้าสะดวกซื้อ 7-11 และและร้านค้า Save Drug ในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ
วิธีป้องกันอาการปวดฟัน
หลายคนจะต้องเคยเผชิญกับอาการปวดฟัน แต่เชื่อว่าหากเลือกได้ก็คงไม่มีใครต้องการที่จะปวดฟันบ่อยๆ อย่างแน่นอน แม้อาการปวดฟันจะไม่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดขึ้น แต่ก็สามารถดูแล ใส่ใจสุขภาพฟันเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่อาการปวดฟันแทนได้ ซึ่งวิธีลดความเสี่ยง ป้องกันไม่ให้ปวดฟัน มีดังนี้
- แปรงฟันให้สะอาด แปรงอย่างถูกวิธี ไม่แปรงแรงจนเกินไป และที่สำคัญต้องเลือกใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
- ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดเศษอาหารที่อาจติดอยู่บริเวณซอกฟันเป็นประจำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง
- ใช้น้ำยาบ้วนปากวันละ 2 ครั้ง เพื่อลดการเกิดคราบจุลินทรีย์ แบคทีเรียที่อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพฟัน และเหงือก
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร และดื่มเครื่องดื่ม โดยลดการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล อาหารรสจัด อาหารที่ต้องใช้แรงเคี้ยวเยอะ
- ตรวจเช็คสุขภาพฟัน และสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุกๆ 6 เดือน
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการปวดฟัน
รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการปวดฟันที่ทุกคนอยากรู้
1. ทำไมปวดฟันไม่หาย
สาเหตุที่อาการปวดฟันไม่หายนั้นเกิดจากการที่ไม่ได้รับการรักษาที่ต้นตอสาเหตุอย่างถูกต้องโดยทันตแพทย์ ทั้งจากการติดเชื้อภายในฟัน อาการฟันผุไปจนถึงโพรงประสาทฟัน หรือในบางคนอาจมีสาเหตุมาจากการปวดฟันคุด ซึ่งหากเริ่มสังเกตว่าตนเองมีอาการปวดฟันมานานมากกว่า 1-2 วันแล้วยังไม่ดีขึ้นแบบนี้ แนะนำว่าควรพบทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจประเมินหาสาเหตุของอาการปวดฟันที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมะสมกับอาการ
2. ปวดฟันมากๆ จะเป็นอะไรไหม
อาการปวดฟันย่อมไม่ใช่เรื่องดี ไม่ว่าจะปวดฟันมากหรือน้อยก็มีผลเสียต่อร่างกายทั้งสิ้น เนื่องจากสาเหตุของการปวดฟันมีหลายปัจจัย จึงควรพบทันตแพทย์เพื่อประเมินอาการ ว่ามีลักษณะอาการปวดฟันแบบใด ปวดบริเวณใด และสาเหตุที่แท้จริงเกิดจากอะไร จากนั้นจึงจะได้ทำการรักษาอย่างถูกวิธี
3. อาการปวดฟันแบบไหนอันตรายถึงชีวิต
หลายคนคิดว่าอาการปวดฟันอาจจะไม่อันตรายต่อชีวิตจึงทำให้ละเลยในการไปหาทันตแพทย์เพื่อรักษา แต่ในความเป็นจริงแล้วอาการปวดฟันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ โดยเฉพาะอาการปวดฟันที่มีสาเหตุมาจากฟันผุ เพราะยิ่งปล่อยไว้นานก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปสู่อวัยวะต่างๆ ได้ เช่น โพรงไซนัส หัวใจ สมอง เป็นต้น โดยเฉพาะเมื่อปล่อยให้ปวดฟันจากฟันผุนานๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ หรือทำให้อาการของโรคหัวใจมีความรุนแรงขึ้นได้
สรุป
ปวดฟันเป็นปัญหาสุขภาพภายในช่องปากที่เชื่อว่าหลายๆ คนต้องเคยประสบกับปัญหานี้ ซึ่งในทุกๆ ครั้งที่มีอาการปวดฟันมักสร้างความหงุดหงิดใจ และเป็นอุปสรรค เพราะความเจ็บปวดจากอาการปวดฟันมักรบกวนการโฟกัสสิ่งต่างๆ ในการใช้ชีวิต ที่สำคัญยังส่งผลเสียต่อสุขภาพอีกด้วย
ฉะนั้นเมื่อเกิดอาการปวดฟันจึงทำให้หลายคนเลือกรับประทานยาพารา ยาแก้ปวดฟันเพื่อบรรเทาอาการปวด แต่อย่างไรก็ตามเมื่อปวดฟันควรเข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการ และรับการรักษาที่เหมาะสม ไม่ปล่อยให้อาการปวดฟันเรื้อรังเป็นเวลา เพราะฟันเป็นอวัยวะสำคัญที่ต้องใส่ใจในการดูแลรักษาเพื่อความมั่นใจในการบดเคี้ยวอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ
Reference
Cleveland Clinic medical professional. (2023, Nov 11). Toothache: Symptoms, Causes & Remedies. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/10957-toothache
NHS 24. (2022, Dec 8). Toothache – Illnesses & conditions. Nhsinform.
https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/mouth/toothache
WebMD Editorial Contributors. (2023, Mar 22). An Overview of Toothaches. Webmd.
https://www.webmd.com/oral-health/toothache