ยาพาราเซตามอล หรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า ‘ยาพารา’ ซึ่งเป็นยาสามัญประจำบ้าน ที่ผู้คนมักพกติดตัวเอาไว้เสมอเมื่อต้องออกเดินทางไปต่างจังหวัด
หรือติดไว้ที่ทำงาน เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด และเมื่อเป็นไข้ในเมื่อเป็นยาที่อยู่ใกล้ตัวหลายคนอาจเคยสงสัยเกี่ยวกับยาพารานี้ว่า ยาพาราลดไข้แก้ปวดได้อย่างไร วิธีการทานยาพาราที่ถูกต้องต้องกินยังไง กินยาพาราตอนท้องว่างได้หรือไม่ เป็นต้น

วันนี้คำถามที่หลายคนสงสัยจะได้ตอบคำตอบแล้ว

1. ยาบาคามอลคืออะไร

ยาบาคามอลคือ ยาพาราเซตามอล ซึ่งมีทั้งชนิดเม็ด มีสีเหลือง และชนิดน้ำเชื่อมใช้บรรเทาอาการปวดต่าง ๆ เช่นปวดศีรษะ ปวดฟันและใช้ลดไข้ บาคามอลผลิตโดยบริษัทในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ที่ได้มาตรฐาน GMP ISO 9100

2. ยาพาราเซตามอลบรรเทาปวดและลดไข้ได้อย่างไร

ยาพาราเซตามอลออกฤทธิ์ในการลดการสร้างและการหลั่งสารพรอสตาแกลนดินในระบบประสาทส่วนกลางและยับยั้งการกระตุ้นของสารก่อไข้ต่อศูนย์ควบคุมอุณหภูมิในสมองช่วยลดอาการปวด และลดไข้ได้

3. อาการ ‘ไข้’ คืออะไร

อาการไข้คือภาวะที่ร่างกายของเรามีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าอุณหภูมิปกติของร่างกายโดยที่หากอุณหภูมิร่างกายสูงตั้งแต่ 37.5 – 38 องศาเซลเซียสขึ้นไปถือว่ามีไข้ อาการไข้นั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุทั้งความเจ็บป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ หรือจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส

4. ขนาดและวิธีการรับประทานยาพาราเซตามอลที่ถูกต้อง

ขนาดรับประทานของยาพาราเซตามอลนั้นคือ

รับประทานครั้งละ 10 – 15มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม อาจคำนวณได้ดังนี้

สำหรับพาราเซตามอล ชนิดเม็ด ขนาด 500 มิลลิกรัม

– น้ำหนักตัวน้อยกว่า 34 กิโลกรัม ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
– น้ำหนักตัวตั้งแต่ 34 – 50 กิโลกรัม รับประทานครั้งละ 1 เม็ด
– น้ำหนักตัวมากกว่า 50 – 67 กิโลกรัม รับประทานครั้งละ 1 เม็ดครึ่ง วันละไม่เกิน 5 ครั้ง
– น้ำหนักตัวมากกว่า 67 กิโลกรัม รับประทานครั้งละ 2 เม็ด วันละไม่เกิน 4 ครั้ง

โดยให้รับประทานแต่ละครั้งห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง เฉพาะเวลาปวดหรือมีไข้ สำหรับยาพาราเซตามอลชนิดน้ำเชื่อมให้คำนวณขนาดรับประทานตามน้ำ
หนักตัวของเด็กครั้งละ 10 – 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

5. ยาพาราเซตามอลปลอดภัยจริงหรือ?

ยาพาราเซตามอล เป็นยาที่มีประสิทธิภาพดีในการลดปวด ลดไข้ซึ่งใช้กันมานานมีความปลอดภัยสูง เมื่อรับประทานตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับยาหรือรับประทานตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร ไม่รับประทานยาเกินขนาดหรือรับประทานพร่ำเพรื่อบ่อยเกินความจำเป็นซึ่งอาจเกิดผลเสียต่อตับได้

6. ยาพาราเซตามอลกัดกระเพาะหรือไม่

ยาพาราเซตามอลไม่มีข้อเสียในเรื่องของการกัดกระเพาะรวมทั้งอาหารก็ไม่มีผลต่อการดูดซึมของยาดังนั้นจึงสามารถรับประทานยาในเวลาใดก็ได้เมื่อมีอาการปวดหรือมีไข้ ไม่จำเป็นต้องรับประทานหลังอาหารเท่านั้นและผู้ที่เป็นโรคกระเพาะก็สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลได้

7.หญิงมีครรภ์และให้นมบุตรสามารถรับประทานยาพาราเซตามอลได้หรือไม่

สามารถรับประทานได้ เนื่องจากยาพาราเซตามอลยังมีความปลอดภัยกว่ายาแก้ปวด ลดไข้กลุ่มอื่น ๆ เมื่อใช้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนดและคำแนะนำในเอกสารกำกับยา แต่อย่างไรก็ตามแนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้องรวมทั้งข้อควรระวังอื่น ๆ ในการใช้ยา เพื่อความปลอดภัยเพิ่มขึ้น

8. ผลข้างเคียงของยาพาราเซตามอลมีหรือไม่ อะไรบ้าง

ถึงแม้ว่ายาพาราเซตามอลจะเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูงมีผลข้างเคียงต่ำเมื่อรับประทานตามเอกสาร กำกับยาอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตามอาจเกิดผลข้างเคียงเช่นตัวเหลือง ตาเหลือง ผื่นคัน หรือหากรับประทานเกินขนาดอาจส่งเสียต่อตับ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้องรุนแรงได้

9. พาราเซตามอลมีผลเสียต่อตับจริงหรือ

เนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นสารใดก็ตามที่เข้าสู่ร่างกาย ทั้งยา วิตามิน สารเคมีต่าง ๆ ล้วนต้องขับออกทางตับหรือไต เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายได้รับสารใด ๆ เกินขนาด ตับและไตก็จะทำงานหนักและเกิดผลเสียในระยะยาวได้ สำหรับยาพาราเซตามอล

หากรับประทานเกินขนาดไม่เป็นไปตามมาตรฐานข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้ในเอกสารกำกับยาแล้วจะส่งผลเสียต่อตับได้ ดังนั้นจึงต้องรับประทานตามข้อกำหนดอย่าเคร่งครัด นั่นคือสำหรับผู้ใหญ่ ไม่ควรรับประทานยาพาราเซตามอลเกินวันละ 4000 มิลลิกรัม หรือ 8 เม็ด
(500 มิลลิกรัม/เม็ด) นานติดต่อกันเกิน 5 วัน ผู้ที่เป็นโรคตับ โรคไต ก็ต้องระวังในการรับประทาน และปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์ และเภสัชกรอย่างเคร่งครัด

10. ข้อควรระวังในการรับประทานยาพาราเซตามอล

  • ควรรับประทานยาตามที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับยาอย่างเคร่งครัด
  • การรับประทานยาพาราเซตามอลซ้ำซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประทานยาซ้ำซ้อนกับยาพาราเซตามอลที่อยู่ในตำรับยาแก้หวัด
  • ผู้ที่มีปัญหาโรคตับ ไต
  • การรับประทานยาพาราเซตามอลควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร
  • ระวังในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

11. ยาบาคามอลชนิดเม็ดมีอายุยานานเท่าไร

ยาบาคามอลชนิดเม็ดขนาด 500 มิลลิกรัมมีอายุยา 4 ปีนับจากวันที่ผลิต ทั้งนี้ต้องเก็บที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศา หลีกเลี่ยงจากแสง ความร้อน และความชื้น หากเม็ดยาเปลี่ยนสีหรือมีจุดเกิดขึ้นแสดงว่ายาอาจเสื่อมสภาพ เนื่องจากเก็บอยู่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม ไม่ควรนำยานั้นมารับประทานอีก

12. ยาบาคามอลชนิดน้ำเชื่อม 120 มก. / 5 มล. มีอายุยานานเท่าไร

ยาบาคามอลชนิดน้ำเชื่อม 120 มก. / 5 มลมีอายุยา 3 ปีนับจากวันที่ผลิต ทั้งนี้ต้องเก็บที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศา หลีกเลี่ยงจากแสง ความร้อน และความชื้น หากมีการเปลี่ยนแปลง เช่น มีกลิ่นหรือรสชาติเปลี่ยนแปลงไปแสดงว่ายาอาจเสื่อมสภาพ เนื่องจากเก็บอยู่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม ไม่ควรนำยานั้นมารับประทานอีก

13. วิธีการรับประทานยาบาคามอลชนิดน้ำเชื่อม 120 มก. / 5 มล.

ก่อนรับประทานยาต้องเขย่าขวดก่อนรับประทาน โดยขนาดรับประทานเป็นดังนี้

  • เด็กอายุน้อยกว่า 2 เดือน ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
  •  เด็กอายุ 2-3 เดือน น้ำหนักตัว 4-6 กิโลกรัม รับประทานครั้งละ ½ ช้อนชา (2.5 มิลลิลิตร) วันละ 1 ครั้ง เฉพาะเวลาปวดหรือมีไข้ หากจำเป็นต้องรับประทานอีกครั้ง
  • ต้องห่างจากครั้งแรกอย่างน้อย 4 ชั่วโมง หากอาการไม่ดีขึ้นให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
  • สำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 3 เดือน ให้คำนวณขนาดการใช้ยาตามน้ำหนักตัวของคนไข้ โดยให้คำนวณจากขนาดปกติที่จะให้รับประทานคือครั้งละ 10 – 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวกิโลกรัม ดังนี้
  • น้ำหนักตัวตั้งแต่ 4 – 6 กิโลกรัม รับประทานครั้งละ ½ ช้อนชา (2.5 มิลลิลิตร)
  • น้ำหนักตัวมากกว่า 6 – 8 กิโลกรัม รับประทานครั้งละ ¾ ช้อนชา (3.75 มิลลิลิตร)
  • น้ำหนักตัวมากกว่า 8 – 12 กิโลกรัม รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา (5 มิลลิลิตร)
  • น้ำหนักตัวมากกว่า 12 – 16 กิโลกรัม รับประทานครั้งละ 1 ½ ช้อนชา (7.5 มิลลิลิตร)
  • น้ำหนักตัวมากกว่า 16 – 24 กิโลกรัม รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชา (10 มิลลิลิตร)
    โดยรับประทานวันละไม่เกิน 5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง เฉพาะเวลาปวดหรือมีไข้

14. ยาบาคามอลชนิดน้ำเชื่อม 120 มก. / 5 มล. มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมหรือไม่

ไม่มีส่วนผสมของ Alcohol จึงปลอดภัยสำหรับเด็ก

15. ยาพาราเซตามอลเมื่อเปรียบเทียบกับยาไอบูโพรเฟนตัวใดดีกว่ากัน

ยาพาราเซตามอลเป็นยาที่ใช้กันมานาน จึงค่อนข้างความปลอดภัยเมื่อใช้อย่างถูกต้อง ไม่มีผลข้างเคียงในเรื่องของการกัดกระเพาะ และยังสามารถใช้ลดไข้ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกได้ ซึ่งแตกต่างจากยาไอบูโพรเฟน

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม ที่นี่

ชวนรู้จักยาพาราตอนที่1 ชวนรู้จักยาพาราตอนที่2 6เรื่องที่ควรรู้ก่อนทานยาพารา ทำไมต้องมียาพาราเซตามอลติดบ้าน อาการไมเกรน ทำไมถึงเป็นไข้ เป็นไข้วัดได้ไม่ยาก ไข้แบบนี้พบแพทย์ด่วน