Skip to content
FacebookFacebookLineLineYoutubeYoutube
บาคามอล 500 Logo บาคามอล 500 Logo
  • บทความแนะนำ
    • สารพัดปวด
    • รู้ทันโรค
    • ไลฟ์สไตล์
  • บาคามอล 500
  • คำถามพบบ่อย
  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
  • สั่งซื้อ

ปวดท้องประจำเดือน กินยาอะไร? แล้วอาการปวดแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์

หน้าหลัก / ปวดท้องประจำเดือน กินยาอะไร? แล้วอาการปวดแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์
ปวดท้องประจำเดือน กินยาอะไร? แล้วอาการปวดแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์
  • View Larger Image ยาแก้ปวดท้องเมน

อาการปวดประจำเดือน เป็นปัญหาที่สาว ๆ ส่วนใหญ่ต้องเผชิญเมื่อมีประจำเดือน ซึ่งอาการปวดเหล่านี้ก็มักจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของสาว ๆ หลายคน สาว ๆ บางคนปวดท้องหนักถึงขั้นต้องหยุดเรียน หยุดงาน หรือไม่สามารถออกไปใช้ชีวิตประจำวันแบบปกติได้ วันนี้เราจึงจะมาพูดถึงสาเหตุหลักของอาการปวด และวิธีการดูแลตัวเองเมื่อมีอาการปวดท้องประจำเดือน

สารบัญบทความ

  • อาการปวดท้องเมื่อมีประจำเดือนเกิดจากสาเหตุใด
  • อาการปวดประจำเดือนมีกี่ประเภท
  • ปวดประจำเดือนแบบไหนควรไปพบแพทย์
  • วิธีบรรเทาอาการปวดเมื่อมีประจำเดือน
  • คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการปวดประจำเดือน
  • สรุปอาการปวดประจำเดือน

อาการปวดท้องเมื่อมีประจำเดือนเกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุที่ทำให้เราปวดท้องตอนมีประจำเดือนเกิดจากการหลั่งสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) บริเวณเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้กล้ามเนื้อในบริเวณนั้นบีบตัวและหดเกร็ง เพื่อขับประจำเดือนออกมา ทำให้รู้สึกปวดและรู้สึกไม่สบายตัวเมื่อมีประจำเดือน

โดยปกติอาการปวดท้องประจำเดือน จะเป็นอาการปวดหน่วงหรือปวดเกร็งในบริเวณท้องน้อย ซึ่งระดับความรุนแรงและระยะเวลาของอาการปวดจะขึ้นอยุ่กับตัวบุคคล โดยปกติอาการปวดประจำเดือน จะเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนประมาณ 1-2 วัน และอาจมีอาการอื่น ๆ อย่างอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหลังล่าง เหงื่อออก ท้องเสีย หรือท้องผูกร่วมด้วย

อาการปวดประจำเดือนมีกี่ประเภท

เราสามารถแบ่งอาการปวดประจำเดือนได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

1. อาการปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ

อาการปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ (Primary dysmenorrhea) เกิดจากการหลั่งสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) บริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกมาก ซึ่งการหลั่งสารนี้และอาการปวดท้องแบบนี้เป็นอาการที่ไม่อันตราย เป็นอาการปวดประเดือนแบบปกติที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่มีอายุน้อย

2. อาการปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ

อาการปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ (Secondary dysmenorrhea) เป็นอาการปวดที่มีสาเหตุมาจากโรค เป็นความผิดปกติของมดลูกและระบบภายในของอวัยวะสืบพันธุ์ อาการปวดแบบนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • เนื้องอกมดลูก
  • พังผืดในอุ้งเชิงกราน
  • เยื่อบุมดลูกเจริญภายในกล้ามเนื้อมดลูก
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • ภาวะปากมดลูกตีบ
  • ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ

ปวดประจำเดือนแบบไหนควรไปพบแพทย์

 

  • ปวดประจำเดือนมากจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
  • มีอาการปวดประจำเดือนมากขึ้นกว่าปกติ
  • รับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการแล้วไม่หายไม่ดีขึ้น
  • ในช่วงที่ยังไม่ถึงรอบเดือนมีอาการปวดท้องน้อย
  • ในช่วงที่มีประจำเดือนมีเลือดไหลมากกว่าปกติ
  • มีอาการคันและตกขาวมากขึ้น
  • สีของประจำเดือนเปลี่ยนไปจากปกติ
  • มีไข้
  • เผชิญกับปัญหาการมีบุตรยาก

วิธีบรรเทาอาการปวดเมื่อมีประจำเดือน

1. บรรเทาอาการปวดด้วยการทานยาแก้ปวด

วิธีแก้ปวดท้องเมน

การรับประทานยาแก้ปวดตามความรุนแรงของอาการปวด เช่น ใช้ยาพาราเซตามอล บาคามอล 500 มก. เม็ดสีเหลือง ทุก 4 – 6 ชั่วโมง บรรเทาอาการปวดประจำเดือนระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง

หากทานยาพาราเซตามอลแล้วอาการปวดจากประจำเดือนไม่ดีขึ้น สามารถใช้ยากลุ่ม NSAIDs หรือยาแก้ปวดรุนแรง เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้

2. ประคบร้อน

วิธีแก้ปวดท้องเมนส์แบบเร่งด่วน0

การประคบร้อนสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดจากประจำเดือนให้ดีขึ้นได้ โดยแนะนำให้ประคบในบริเวณท้องน้อย เพื่อทำให้กล้ามเนื้อมดลูกเกิดความผ่อนคลาย ช่วยให้อาการปวดลดลง

3. นวดบริเวณท้องน้อย

ยาปวดท้องเมน

นวดคลึงเป็นวงกลมบริเวณน้อยเบา ๆ เพื่อคลายความตึงของกล้ามเนื้อมดลูกให้ลดลง

4. เลือกรับประทานอาหารที่ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน

ปวดท้องหน่วงแต่ไม่ได้เป็นประจำเดือน

รับประทานอาหารที่ช่วยลดอาการบีบตัว พร้อมช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด เช่น มะเขือเทศ ผักใบเขียว ผลไม้ตระกูลเบอรี่ สับปะรด ขมิ้น ขิง และปลาแซลมอน

5. ออกกำลังกาย

ปวดท้องเมนส์มาก

ออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อทำร่างกายเกิดการหลั่งสารเอนโดรฟิน (Endophins) ที่ช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย ลดความเครียด และช่วยให้อาการปวดที่เกิดขึ้นลดลง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการปวดประจำเดือน

ปวดท้องเมนส์วิธีแก้

1. ปวดท้องประจำเดือนรุนแรง จนนอนไม่ได้ควรทำยังไงดี ?

สามารถแก้ไขเบื้องต้นด้วยการประคบอุ่นที่บริเวณท้องน้อย กินยาแก้ปวด และพักผ่อน แต่ถ้าหากอาการปวดประจำเดือนยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอื่น ๆ แทรกซ้อน เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ถ่ายเหลว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาอย่างถูกวิธี

2. ปวดประจำเดือนกินยาอะไรได้บ้าง ?

ยาแก้ปวดประจำเดือนมีหลากหลายประเภท หากไม่มากสามารถใช้ยาพาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการปวดให้ดีขึ้น โดยควรรับประยาทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม ห่างกัน 4-6 ชั่วโมง หากปวดประจำเดือนมากควรใช้ยากลุ่ม NSAIDs ที่จะบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ดีกว่ายาพาราเซตามอล

สรุปอาการปวดประจำเดือน

อาการปวดเมื่อมีประจำเดือน เป็นอาการปวดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งแต่ละคนก็จพมีระดับความรุนแรงของอาการปวดที่ต่างกันออกไป อย่างไรก็ตามหากเริ่มสังเกตว่ามีอาการปวดประจำเดือนที่ผิดปกติไปจากเดิม ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยสาเหตุอาการที่เกิดขึ้นต่อไป

Reference

Healthpartners. (2023, Jul 24). 13 ways to stop period cramps. https://www.healthpartners.com/blog/13-ways-to-stop-period-pain/

Mayoclinic. (2023, Jul 21). Menstrual cramps. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/menstrual-cramps/symptoms-causes/syc-20374938

Medlineplus. (2023, Jul 24). Period Pain. https://medlineplus.gov/periodpain.html

  • Facebook iconแชร์
  • Twitter iconทวีต
  • LINE iconแชร์
admin2023-11-07T23:01:25+07:0007/10/2023|

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง

  • ปวดเมื่อยตามตัวไม่มีไข้

    รู้ทัน สาเหตุของอาการปวดเมื่อยตามตัว พร้อมวิธีแก้ปวดเมื่อยตัว

    14/11/2023 | 0 Comments
  • ปวดฟัน

    เผยความลับสาเหตุอาการ “ปวดฟัน” พร้อมแนะนำวิธีแก้ปวดฟัน

    07/11/2023 | 0 Comments
  • วิธีแก้ปวดหัว

    ปวดหัวไมเกรน เกิดจากอะไรมีวิธีแก้อย่างไรบ้าง?

    28/09/2023 | 0 Comments
  • อาการไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์a

    รู้ทัน อาการไข้หวัดใหญ่ มีกี่สายพันธุ์ ป้องกันอย่างไรได้บ้าง?

    28/09/2023 | 0 Comments
https://www.youtube.com/watch?v=yBIqDSaIOi0&t=10s
  • บทความล่าสุด

บาคามอล

  • บาคามอล ยาพาราเม็ดเหลือง
  • คำถามที่พบบ่อย
  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

บทความแนะนำ

  • สารพัดปวด
  • รู้ทันโรค
  • ไลฟ์สไตล์

ติดตามเราผ่าน Social Media

© 2021 bakamol.com All rights reserved.
Go to Top