ยาสามัญประจำบ้านคือสิ่งจำเป็นที่ควรจะต้องมี เพราะเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีพ คุณอาจจะไม่รู้ตัวว่าจะเกิดเหตุหรืออาการผิดปกติของร่างกายขึ้นเมื่อไหร่ สำหรับผู้เป็นไมเกรน (Migraine) โรคที่มีระดับสารเคมีในสมองผิดปกติชั่วคราว ทำให้หลอดเลือดแดงในสมองเกิดอาการบีบและคลายตัวมากกว่าปกติ และเกิดอาการปวดขึ้น ผู้ป่วยจะต้องพกยาแก้ปวดหัวไมเกรนไว้เพราะหากมีอาการปวดขึ้นมาคุณจะทรมานมาก

โรคไมเกรนสามารถป้องกันได้ด้วยตัวคุณเองโดยการกิน ยาแก้ปวดหัวไมเกรน อาจใช้ยาพาราเซตามอลซึ่งราคาไม่แพง ช่วยบรรเทาอาการปวดในเบื้องต้นได้ ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิด เช่น ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ และอยู่ในที่อากาศร้อนหรือเย็นจนเกินไป ควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหยุดพัก 10 – 20 นาที ในห้องที่เงียบ ปลอดแสงรบกวน หากปวดหัวกินยาไม่หายก็ควรไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด การซื้อยาต้องพิจารณาอะไรบ้าง คอลัมน์นี้มีคำตอบ


สารบัญบทความ


ทำความรู้จัก กับ ยาแก้ปวดหัวไมเกรน

ยาแก้ปวดหัวไมเกรน

การมียาพกติดตัวไว้จะช่วยบรรเทาอาการปวดเบื้องต้น จากนั้นค่อยไปพบแพทย์เพื่อสั่งยาแก้ปวดหัวไมเกรนที่ถูกกับโรคของคุณต่อไป ซึ่งยาปวดหัวไมเกรนมีสรรพคุณลดอาการปวดรุนแรงได้ จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อน โดยยาที่แก้อาการปวดหัวไมเกรนมีดังนี้

  • ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นวิธีบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนเบื้องต้น ที่มีอาการปวดไม่มาก ซึ่งไม่ควรรับประมาณเกิน 4 กรัม ติดต่อกันนานเกิน 5 วัน เพราะอาจทำให้มีผลต่อการทำงานของตับ
  • ยาแก้ปวดแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น Ibuprofen, Naproxen และ Mefenamic acid เป็นต้น ช่วยบรรเทาเวลามีอาการปวดที่ไม่รุนแรง แต่ไม่เหมาะกับผู้มีเลือดออกในทางเดินอาหาร เคยเป็นโรคหัวใจ และไตทำงานผิดปกติ
  • ยาแก้ปวดหัวประเภทเดียวกับฝิ่น สามารถแก้ปวดในระดับปานกลางถึงรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์อย่างเคร่งครัดก่อนใช้ยา เพราะมีผลต่อผู้ป่วยโรคลมชัก, โรคระบบทางเดินหายใจ โรคตับและไต
  • ยาแก้ปวดหัวไมเกรนกลุ่ม Triptan ช่วยบรรเทาอาการปวด แต่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และผู้มีภาวะการทำงานของตับผิดปกติ
  • ยาแก้ปวดหัวไมเกรนชนิดเฉียบพลัน หรือยาแก้ปวดหัวแบบแรง Ergotamine และ Caffeine สูตรผสมที่ช่วยแก้อาการปวดได้ดีขึ้น แต่ควรระมัดระวังในการทานยา ไม่ควรกินมากกว่า 6 เม็ดต่อวันหรือ 10 เม็ดต่อสัปดาห์ และสตรีมีครรภ์ห้ามใช้โดยเด็ดขาด

อาการปวดหัวไมเกรน

ผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรนอยู่เป็นประจำ ย่อมต้องรู้ว่ามันเจ็บปวดมากขนาดไหน และมักจะรับประทานยาแก้ปวดหัวไมเกรนเพื่อให้รู้สึกดีขึ้น ซึ่งการรับประทานยาด้วยตนเองเพื่อระงับอาการปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นจะแบ่งออกไปตามความรุนแรงของอาการเช่น

อาการปวดหัวทั่วไป

ยาแก้ปวดหัวไม่รุนแรง ยาแก้ปวดหัวประเภทนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดในเบื้องต้นได้ เช่น พาราเซตามอล สามารถใช้กับผู้ปวดหัวไมเกรนแบบไม่รุนแรง เป็นยาสามัญประจำบ้านที่หาซื้อง่ายใช้ได้ทั่วไป

อาการปวดไมเกรน

ยาแก้ปวดหัวไมเกรน เช่น ยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs อาทิเช่น Naproxen, Ibuprofen เป็นยาแก้ปวดหัวแบบแรงใช้ในกรณีที่ปวดมาก ออกฤทธิ์เร็ว แต่ก็ทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร จึงควรกินยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที


วิธีบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนด้วยยาแก้ปวด

ยาแก้ปวดหัวไมเกรนยี่ห้อไหนดี

ยาแก้ปวดหัวไมเกรนชนิดรับประทานเป็นยาพื้นฐานเบื้องต้นที่ทุกบ้านควรมี อย่างน้อยเมื่อมีอาการปวดหัวคุณก็สามารถกินยารักษาด้วยตนเองเบื้องต้นได้ โดยยาแก้ปวดหัวที่ได้ผลดีคือ ยาบาคามอล 500 ยาพาราเซตามอล เม็ดเหลือง ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานวิธีการผลิตยา GMP PCI/s และรางวัลอื่น ๆ อีกมายมาย เพียงรับประทาน 1 – 2 เม็ดทุก 4 – 6 ชั่วโมง อาการปวดหัวก็จะดีขึ้น หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของอาการปวดต่อไป

2. Occipital Nerve Block

ปวดหัวกินพาราไม่หาย 

Occipital Nerve Block เป็นการแก้อาการปวดหัวไมเกรนโดยการฉีดยาชาเฉพาะที่หรือยากลุ่มสเตียรอยด์เข้าที่เส้นประสาทบริเวณท้ายทอย เพื่อรักษาโรคไมเกรนเรื้อรัง ไม่เกิดผลข้างเคียง ทำให้เป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่อาจทนรับผลข้างเคียงจากการใช้ยาตัวอื่น ทั้งนี้ต้องดำเนินการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น คุณจึงควรปรีกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลก่อน

3. Migraine Cocktail

ปวดหัวกินยาไม่หาย

Migraine Cocktail ยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำเป็นยาแก้ปวดหัวชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยยาต้านการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยากันชัก และยาฉีดสเตียรอยด์ ช่วยระงับอาการปวดอย่างได้ผลรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยที่ปวดหัวไมเกรนอย่างรุนแรงมีอาการปวดลดลง


วิธีทานยาพาราเซตามอลแก้ปวด

คนไทยส่วนใหญ่ไม่อยากจะไปหาหมอและมักจะซื้อยาแก้ปวดมากินเอง ไม่ว่าจะปวดหัว ปวดท้อง หรือปวดขา ก็กินยาแก้ปวดพาราเซตามอลเป็นอันดับแรก โดยอาจลืมไปว่าการกินยาแก้ปวดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พาราเซตามอลมากจนเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง โดยวิธีกินยาแก้ปวดพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นที่ถูกต้องมีดังนี้

  • ดูปริมาณขนาดยาแก้ปวดหัวให้เหมาะสมกับขนาดน้ำหนักของตนเอง โดยยาแก้ปวดพาราเซตามอล 1 เม็ด ขนาด 500 มิลลิกรัม เหมาะสำหรับผู้มีน้ำหนักไม่เกิน 50 กิโลกรัม
  • รับประทานครั้งละ 1 – 2 เม็ด ทุก 4 – 6 ชั่วโมง
  • เก็บรักษายาไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส
  • บางครั้งปวดหัวกินพาราเซตามอลแล้วไม่หายอาจเป็นเพราะไม่ปฏิบัติตามฉลากยา จึงควรอ่านฉลากก่อนใช้ยา
  • ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอลติดต่อกันเกิน 5 วัน
  • ผู้ป่วยโรคตับและโรคไตควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

ข้อห้าม และ ข้อควรระวังในการใชัยาพาราแก้ปวดหัว

แก้ปวดหัวไมเกรน 

การรับประทานยาแก้ปวดหัวด้วยตนเองจำเป็นต้องระมัดระวังในการรับประทานยา ควรรับประทานยาในปริมาณที่กำหนด และควรอ่านฉลากก่อนใช้ยาทุกครั้ง และหากพบอาการผิดปกติ ปวดหัวกินยาแล้วไม่หายต้องรีบพบแพทย์ทันที ซึ่งยาแก้ปวดพาราเซตามอลมีข้อห้ามและข้อควรระวังดังนี้

  • การใช้ยาพาราเซตามอลในปริมาณที่เหมาะสม คือ 10 – 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ก่อนกินยาควรพิจารณาทานยาให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัว เช่น น้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ควรทานยาปริมาณ 500 – 750 มิลลิกรัม
  • รับประทานทุก 4 – 6 ชั่วโมง
  • ไม่ควรรับประทานเกิน 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ไม่ควรทานติดต่อกันเกินกว่า 5 วัน เพราะอาจมีผลต่อการทำงานของตับและไต
  • ผู้ที่มีโรคตับและไต ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

ผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาแก้ปวดพาราเกินปริมาณที่กำหนด

บางครั้งผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรนรุนแรงมากจนทนไม่ไหว จึงเลือกที่จะรับประทานยาแก้ปวดหัวจำนวนมาก เพื่อหวังผลให้ยาออกฤทธิ์แรง และทำให้ผู้ป่วยหายป่วยได้ในทันที รู้หรือไม่ว่าการรับประทานยาแก้ปวดพารามากเกินไปไม่ดีต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดผลข้างเคียง อาทิเช่น

  • บวมบริเวณใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก ลมพิษ
  • หน้ามืดจะเป็นลม แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
  • ผิวหนังหลุดลอก ตุ่มพอง ผื่นแดง
  • เหนื่อยง่าย เป็นหวัดง่าย มีรอยจ้ำบนผิวหนัง หรือเลือดออกผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

วิธีป้องกันอาการปวดหัวไมเกรน

วิธีแก้ปวดหัวไมเกรน

วิธีการป้องกันอาการปวดหัวไมเกรนแบบง่าย ๆ ที่คุณสามารถทำได้ในทุกวัน โดยไม่ต้องกินยาแก้ปวด นอกจากจะช่วยป้องกันให้คุณห่างไกลจากโรคไมเกรนแล้ว ยังช่วยให้สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์อีกด้วย วิธีแก้ปวดหัวไมเกรนมีดังนี้

  • ป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ โดยเติมน้ำให้ร่างกาย ดื่มน้ำเปล่าให้มาก ๆ ยิ่งเป็นน้ำมะนาวผสมน้ำผึ้งหรือน้ำขิงอุ่น ๆ ก็ยิ่งดี
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปยังสมอง ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินที่ช่วยบรรเทาอาการปวดที่ร่างกายสร้างขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อเกิดอาการปวดลองวิ่งเหยาะ ๆ หรือออกกำลังกายอยู่กับที่สัก 15 นาที จะพบว่าอาการปวดหัวทุเลาลง
  • นวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือยืดกล้ามเนื้อ เพราะอาการปวดหัวไมเกรนอาจเกิดจากการตึงของกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ ทำให้ต้องกดนวดผ่อนคลาย โดยการดึงศีรษะเอียงคอค้างไว้ 10 วินาทีทำสลับกัน
  • ใช้น้ำมันหอมระเหย น้ำมันหอมระเหยหรือสมุนไพรแก้ปวดหัวนานาชนิดช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดอาการอักเสบ และยังช่วยย่อยอาหาร ลดอาการปวดหัว ลดความเครียด เป็นยาแก้ปวดหัวที่ช่วยแก้ปวดหัวไมเกรนได้

สรุป

ไมเกรนเป็นโรคที่ต้องใช้ยาแก้ปวดช่วยในการรักษา หากมีอาการปวดแล้วควรหาที่สงบเงียบเพื่อการพักผ่อน และหลีกเลี่ยงแสงจ้า กินยาแก้ปวดหัวไมเกรนซึ่งมีทั้งยาแก้ปวดชนิดที่ลดอาการปวดแบบรุนแรงและไม่รุนแรง ผู้ป่วยควรเลือกยาที่เหมาะสมและปลอดภัยกับตนเองมากที่สุด อาจเลือก บาคามอล 500 ยาพาราเซตามอล เม็ดเหลือง บรรเทาอาการปวดเบื้องต้น หากปวดไม่มากหรือเลือกใช้ยาแก้ปวดไมเกรน NSAIDs โดยปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา


Reference

Mayo Clinic Staff. Mayo Clinic. (2021). Migraine. www.mayoclinic.org/diseases-conditions/migraine-headache/diagnosis-treatment/drc-20360207

National Institute of Neurological Disorders and Stroke. (2023). Migraine.www.ninds.nih.gov/health-information/disorders/migraine