ของขวัญหรือคำอวยพรที่ดีที่สุดคือการมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคภัย อายุยืนยาวอยู่กับลูกหลานไปได้อีกนาน แต่บางครั้งอาการเจ็บป่วยหรือโรคต่าง ๆ
ก็เข้ามาโดยที่ไม่รู้ตัว การไม่ดูแลและสังเกตสุขภาพร่างกายของตัวเองให้ดีก็อาจนำมาซึ่งเรื่องที่แสนเศร้าที่ใครก็ไม่อยากพบเจอ อย่าง ‘โรคมะเร็งเต้านม’
มะเร็งเต้านมเกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อส่วนใดส่วนหนึ่งภายในเต้านมและเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็ง ขยายใหญ่ขึ้นสามารถลุกลามไปสู่เนื้อเยื่อข้างเคียงบริเวณอื่นของร่างกายได้ ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดได้กับทั้งเพศชายและเพศหญิงแต่ส่วนมากจะพบในเพศหญิง เพศชายพบได้น้อยกว่าสัญญาณเตือนของมะเร็งเต้านม อาการของโรคนี้ในระยะแรกแทบจะไม่แสดงอาการใดให้ทราบ
สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม
- คลำพบก้อนเนื้อบริเวณเต้านม หรือใต้รักแร้
- สังเกตเต้านมพบว่ามีขนาด และรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่
- ผิวหนังบริเวณเต้านมบุ๋ม คล้ายลักยิ้ม อาจมีหัวนมบุ๋ม หรือหัวนมบอด เต้านมเป็นแผล
- เกิดผื่นคันบริเวณเต้านม หัวนมและรักษาไม่ยอมหายเป็นผื่นแดง ลอก ตกสะเก็ด
- มีน้ำเหลืองหรือของเหลวไหลออกมาจากหัวนมมีสีคล้ายเลือด ออกจากหัวนมเพียงรูเดียว
- เจ็บอย่างผิดปกติที่เต้านม พบการอักเสบบวมแดงของผิวหนังรอบ ๆ เต้านม
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
- สภาพแวดล้อม การดำรงชีวิต
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต
- อายุที่มากขึ้น
- ภูมิคุ้มกันต่ำลง
- มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์
การวินิจฉัย
- การทำอัลตราซาวด์หรือทำการตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- การเจาะชิ้นเนื้อไปตรวจการรักษานั้น มี 2 วิธี การรักษาด้วยฮอร์โมน และการรักษาด้วยเคมีบำบัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ที่จะวางแผนในการรักษา
การป้องกัน
- ตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน ตั้งแต่อายุยังน้อย
- ตรวจเลือด
- ตรวจด้วยเอกซเรย์เต้านมเมมโมแกรมปีละครั้ง
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
วิธีลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ทานผัก ประเภทผักใบเขียวเช่น บล็อกโคลี่ ดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลี อาหารที่มีสารต้านมะเร็ง สารต้านอนุมูลอิสระ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ครั้งละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์
- หมั่นสำรวจดูแลตัวเองเพื่อสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ด้วยตัวเอง
- งดเว้น แอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
- นอนหลับให้สนิทอย่างมีคุณภาพ เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงสารเคมีต่าง ๆ เช่นยา หรือฮอร์โมน บางชนิดที่อาจจะเป็นสาเหตุกระตุ้นให้เกิดโรค
- ควบคุมน้ำหนัก อย่าให้อ้วน
- หากมีลูก ให้ลูกดื่มนมจากเต้า
- หลีกเลี่ยงจากการฉายรังสี หรืออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีมลภาวะ เช่นควัน ไอเสียรถยนต์หรือสารเคมี
สุขภาพร่างกายของเรามีความสำคัญ ฉะนั้นต้องหมั่นตรวจเช็กร่างกายของเราอย่างสม่ำเสมอว่ามีความผิดปกติอย่างไรเกิดขึ้นบ้างหรือไม่และหากพบความผิดปกติดังกล่าวอาจจะต้องพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาถึงความผิดปกติดังกล่าวทั้งนี้เพื่อที่จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
เรียบเรียงโดย ภก.ภรร์ชัยญ์ ลิมปิฐาภรณ์
ขอบคุณข้อมูลจาก